Thailand National Football Team U16
ผมคิดว่าแฟนบอลชาวไทยคงเคยชินกับความพ่ายแพ้ของทีมชาติ จนกลายเป็นโรคความรู้สึกด้านชาไปแล้ว เลยทำให้ความปราชัยของทีมเยาวชน 16 ปีชิงแชมป์เอเชียต่อ ออสเตรเลีย, อิรัก และโอมาน ตกรอบแรก เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่ถูกพูดถึงหรือวิพากษ์วิจารณ์มากนัก
นอกจากความพ่ายแพ้แบบไม่ได้ลุ้นส่วนหนึ่งที่ข่าวคราวของทีมเยาวชน 16 ปี ชุดนี้เงียบราวเป่าสากก็เป็นเพราะการเดินทางไปอิหร่านของทีมชุดนี้ไม่มีนักข่าวช่างภาพจากสำนักไหนๆ ในเมืองไทยมีโอกาสตามไปแม้แต่คนเดียว ต่างจากทีมฟุตบอลหญิงที่เตะเพียงแค่ชิงแชมป์อาเซียน กลับมีนักข่าวติดสอยห้อยตามไปถึง 13 คน ทำให้ข่าวคราวที่ออกมาแตกต่างกันมาก
แต่ยุคโลกาภิวัตน์แบบนี้ คนที่อยากดูจริงๆ ก็ยังสามารถติดตามผลงานของเด็กไทยได้ทั้งการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ต และเทปบันทึกภาพช่วงดึกๆ ทางช่อง 7 สี และเพราะได้เห็นภาพบ้างนี่แหละ ที่ทำให้ ทีมชุดนี้กลายเป็น "ประเด็น" ขึ้นมาโดนด่าเละเทะทางเว็บอร์ดต่างๆ
กรณีของ อำนาจ ภมรประเสริฐ ถูกเปลี่ยนตัวออกจากสนามในเกมพบกับอิรัก แล้วถอดเสื้อทีมชาติไทย ทิ้งต่อหน้าต่อตาสตาฟฟ์โค้ชและเพื่อนร่วมทีม ทันทีที่คลิปนี้แพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต เท่านั้นแหละแฟนบอลรุมด่ากันเละเทะโดยมุ่งประเด็นไปที่เด็กคนนี้ไม่ให้เกียรติทีมชาติ ปาเสื้อที่มีธงไตรงค์ติดบนหน้าอกทิ้ง แต่ละกระทู้ล้วนแล้วแต่ดุเดือดรุนแรง
ผมเองก็คิดเหมือนทุกความเห็นครับว่า การโยนเสื้อทีมชาติทิ้งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก แค่เล่นแพ้ตกรอบคนจะไม่ตำหนิเท่านี้ แต่นี่ถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความไม่มีสปิริต บางคน ยกตัวอย่างนักฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นเก่าๆ ถึงปัจจุบันระดับซูเปอร์สตาร์อย่าง ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, เฉลิมวุฒิ สง่าพล, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ดัสกร ทองเหลา, กวิน ธรรมสัจจานันท์ ฯลฯ นักเตะเหล่านี้หวงแหนเสื้อทีมชาติราวสมบัติล้ำค่า ได้มากี่ตัว กี่ตัวใส่ตู้เก็บไว้อย่างดี บางคนถึงกับทำกรอบรูปไว้ใส่เสื้อทีมชาติติดผนังบ้านไว้เป็นเกียรติยศและความภาคภูมิใจของครอบครัว
หลายคนเรียกร้องให้สโมสรต้นสังกัดของนักเตะและสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ออกมาลงโทษนักเตะรายนี้อย่างเฉียบขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนอื่นๆ
ผมเองก็ตำหนิไปพอสมควร ในการจัดรายการทางโทรทัศน์ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาแล้ว นึกถึงวุฒิภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของเด็กอายุ 16 ปี ก็ได้คิดว่าการลงโทษทั้งทางระเบียบและการถูกลงทัณฑ์ทางสังคมจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ควรจะเป็นไปอย่างพอเหมาะพอควร ควรจะเป็นการสั่งสอน ให้บทเรียน แต่ต้องเหลือเส้นทางให้เด็กวัยเพียงแค่นี้ได้เดินอย่างสง่าผ่าเผยในอนาคตบ้าง
ผมเชื่อว่าเด็กคนนี้ไม่ใช่คนเกเร เลวร้ายอะไร ยิ่งได้ฟังจากน้องนักข่าวที่ไปรับที่สนามบินเล่าให้ฟังว่า อำนาจร้องไห้ และยอมรับว่าตัวเองอารมณ์ร้อนเพราะมีส่วนทำให้ทีมเสียประตูแรก เลยทำให้โมโหและถอดเสื้อทิ้ง โดยไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้ รู้สึกเสียใจมากเหมือนกัน
ทางสโมสรโอสถสภาก็ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วคือการออกมาลงโทษนักเตะในสังกัดของตัวเองพอหอมปากหอมคอ จริงๆแล้วครอบครัวนี้ มี 2 พี่น้องที่เล่นฟุตบอลระดับติดเยาวชนทีมชาติ คนพี่คือองอาจ และคนน้องคืออำนาจ หายากนะครับที่จะมีสักกี่ครอบครัวที่ลูกชาย 2 คน เก่งขนาดติดทีมชาติทั้งคู่
น่าเสียดายที่พี่น้องคู่นี้มีแคแรกเตอร์คล้ายกัน คือเป็นเด็กแข็งๆ ออกแนวหัวโจกนิดๆ คนพี่ก็ใบแดงบ่อยเหมือนกัน แม้โค้ชทีมโรงเรียน ทีมชาติของทั้งคู่จะส่ายหน้าบ้าง แต่ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์รุนแรงแบบครั้งนี้ ความเห็นของผมนะครับ เด็กอายุแค่นี้ ทำผิดสังคมต้องให้อภัย!!
แต่การให้อภัยของแฟนบอล ของคนรอบข้าง ต้องทำให้เด็ก และผู้เกี่ยวข้องใกล้ตัวได้เรียนรู้ และพัฒนาตัวเองไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย...อำนาจ และครอบครัว อย่าไปโกรธกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะตราบใดก็ตามที่คุณเล่นทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของคน 60 ล้านคนทั้งประเทศ ถือว่าคุณเป็นคนของประชาชน พวกเขาเชียร์คุณได้ก็มีสิทธิ์ด่าคุณได้
ตรงกันข้ามกันต้องนำเสียงวิจารณ์เหล่านี้ไปเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองโชว์ผลงานให้ดีๆ ยิ่งขึ้น พัฒนาฝีเท้าให้สุดยอด ให้โค้ชปฏิเสธไม่ได้...พอโค้ชเรียกเข้ามาก็ทำให้เห็นว่า เราเป็นนักบอลที่เก่งและมีวินัยได้เหมือนกัน
ลองย้อนกลับไปศึกษาประวัติของนักเตะรุ่นพี่ๆ เกือบทุกคนมีอดีตมาแล้วทั้งนั้น บางคนเคยเป็นนักเลงในสนามฟุตบอลมาในระดับเยาวชน เพราะคิดว่ากูเก๋า กูแน่ วงการลูกหนังขาสั้นไม่มีใครสู้กูได้ แต่พอโตขึ้นมาปรับตัว ปรับทัศนคติได้ ก็สามารถยืนหยัดบนเส้นทางลูกหนังอาชีพได้อย่างยาวนาน
แต่ก็มีอีกหลายคน ที่พฤติกรรมตอนอายุ 16 เป็นยังไง ตอนอายุ 26 ก็เป็นอย่างนั้น อย่าให้ระบุเลยว่ามีใครบ้าง...วันนี้ชีวิตของนักเตะที่เปลี่ยนพฤติกรรมแย่ๆ ของตัวเองไม่ได้ก็ตกต่ำไม่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่ควรจะเป็น ก็เลือกเอาครับ...ว่าจะเป็นแบบไหน..."ชีวิตเป็นของเรา ใช้ซะ!!"
ผมคิดว่าแฟนบอลชาวไทยคงเคยชินกับความพ่ายแพ้ของทีมชาติ จนกลายเป็นโรคความรู้สึกด้านชาไปแล้ว เลยทำให้ความปราชัยของทีมเยาวชน 16 ปีชิงแชมป์เอเชียต่อ ออสเตรเลีย, อิรัก และโอมาน ตกรอบแรก เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่ถูกพูดถึงหรือวิพากษ์วิจารณ์มากนัก
นอกจากความพ่ายแพ้แบบไม่ได้ลุ้นส่วนหนึ่งที่ข่าวคราวของทีมเยาวชน 16 ปี ชุดนี้เงียบราวเป่าสากก็เป็นเพราะการเดินทางไปอิหร่านของทีมชุดนี้ไม่มีนักข่าวช่างภาพจากสำนักไหนๆ ในเมืองไทยมีโอกาสตามไปแม้แต่คนเดียว ต่างจากทีมฟุตบอลหญิงที่เตะเพียงแค่ชิงแชมป์อาเซียน กลับมีนักข่าวติดสอยห้อยตามไปถึง 13 คน ทำให้ข่าวคราวที่ออกมาแตกต่างกันมาก
แต่ยุคโลกาภิวัตน์แบบนี้ คนที่อยากดูจริงๆ ก็ยังสามารถติดตามผลงานของเด็กไทยได้ทั้งการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ต และเทปบันทึกภาพช่วงดึกๆ ทางช่อง 7 สี และเพราะได้เห็นภาพบ้างนี่แหละ ที่ทำให้ ทีมชุดนี้กลายเป็น "ประเด็น" ขึ้นมาโดนด่าเละเทะทางเว็บอร์ดต่างๆ
กรณีของ อำนาจ ภมรประเสริฐ ถูกเปลี่ยนตัวออกจากสนามในเกมพบกับอิรัก แล้วถอดเสื้อทีมชาติไทย ทิ้งต่อหน้าต่อตาสตาฟฟ์โค้ชและเพื่อนร่วมทีม ทันทีที่คลิปนี้แพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต เท่านั้นแหละแฟนบอลรุมด่ากันเละเทะโดยมุ่งประเด็นไปที่เด็กคนนี้ไม่ให้เกียรติทีมชาติ ปาเสื้อที่มีธงไตรงค์ติดบนหน้าอกทิ้ง แต่ละกระทู้ล้วนแล้วแต่ดุเดือดรุนแรง
ผมเองก็คิดเหมือนทุกความเห็นครับว่า การโยนเสื้อทีมชาติทิ้งเป็นประเด็นที่อ่อนไหวมาก แค่เล่นแพ้ตกรอบคนจะไม่ตำหนิเท่านี้ แต่นี่ถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความไม่มีสปิริต บางคน ยกตัวอย่างนักฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นเก่าๆ ถึงปัจจุบันระดับซูเปอร์สตาร์อย่าง ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน, เฉลิมวุฒิ สง่าพล, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ดัสกร ทองเหลา, กวิน ธรรมสัจจานันท์ ฯลฯ นักเตะเหล่านี้หวงแหนเสื้อทีมชาติราวสมบัติล้ำค่า ได้มากี่ตัว กี่ตัวใส่ตู้เก็บไว้อย่างดี บางคนถึงกับทำกรอบรูปไว้ใส่เสื้อทีมชาติติดผนังบ้านไว้เป็นเกียรติยศและความภาคภูมิใจของครอบครัว
หลายคนเรียกร้องให้สโมสรต้นสังกัดของนักเตะและสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ออกมาลงโทษนักเตะรายนี้อย่างเฉียบขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนอื่นๆ
ผมเองก็ตำหนิไปพอสมควร ในการจัดรายการทางโทรทัศน์ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาแล้ว นึกถึงวุฒิภาวะทางจิตใจและอารมณ์ของเด็กอายุ 16 ปี ก็ได้คิดว่าการลงโทษทั้งทางระเบียบและการถูกลงทัณฑ์ทางสังคมจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ควรจะเป็นไปอย่างพอเหมาะพอควร ควรจะเป็นการสั่งสอน ให้บทเรียน แต่ต้องเหลือเส้นทางให้เด็กวัยเพียงแค่นี้ได้เดินอย่างสง่าผ่าเผยในอนาคตบ้าง
ผมเชื่อว่าเด็กคนนี้ไม่ใช่คนเกเร เลวร้ายอะไร ยิ่งได้ฟังจากน้องนักข่าวที่ไปรับที่สนามบินเล่าให้ฟังว่า อำนาจร้องไห้ และยอมรับว่าตัวเองอารมณ์ร้อนเพราะมีส่วนทำให้ทีมเสียประตูแรก เลยทำให้โมโหและถอดเสื้อทิ้ง โดยไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้ รู้สึกเสียใจมากเหมือนกัน
ทางสโมสรโอสถสภาก็ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วคือการออกมาลงโทษนักเตะในสังกัดของตัวเองพอหอมปากหอมคอ จริงๆแล้วครอบครัวนี้ มี 2 พี่น้องที่เล่นฟุตบอลระดับติดเยาวชนทีมชาติ คนพี่คือองอาจ และคนน้องคืออำนาจ หายากนะครับที่จะมีสักกี่ครอบครัวที่ลูกชาย 2 คน เก่งขนาดติดทีมชาติทั้งคู่
น่าเสียดายที่พี่น้องคู่นี้มีแคแรกเตอร์คล้ายกัน คือเป็นเด็กแข็งๆ ออกแนวหัวโจกนิดๆ คนพี่ก็ใบแดงบ่อยเหมือนกัน แม้โค้ชทีมโรงเรียน ทีมชาติของทั้งคู่จะส่ายหน้าบ้าง แต่ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์รุนแรงแบบครั้งนี้ ความเห็นของผมนะครับ เด็กอายุแค่นี้ ทำผิดสังคมต้องให้อภัย!!
แต่การให้อภัยของแฟนบอล ของคนรอบข้าง ต้องทำให้เด็ก และผู้เกี่ยวข้องใกล้ตัวได้เรียนรู้ และพัฒนาตัวเองไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย...อำนาจ และครอบครัว อย่าไปโกรธกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะตราบใดก็ตามที่คุณเล่นทีมชาติไทย เป็นตัวแทนของคน 60 ล้านคนทั้งประเทศ ถือว่าคุณเป็นคนของประชาชน พวกเขาเชียร์คุณได้ก็มีสิทธิ์ด่าคุณได้
ตรงกันข้ามกันต้องนำเสียงวิจารณ์เหล่านี้ไปเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองโชว์ผลงานให้ดีๆ ยิ่งขึ้น พัฒนาฝีเท้าให้สุดยอด ให้โค้ชปฏิเสธไม่ได้...พอโค้ชเรียกเข้ามาก็ทำให้เห็นว่า เราเป็นนักบอลที่เก่งและมีวินัยได้เหมือนกัน
ลองย้อนกลับไปศึกษาประวัติของนักเตะรุ่นพี่ๆ เกือบทุกคนมีอดีตมาแล้วทั้งนั้น บางคนเคยเป็นนักเลงในสนามฟุตบอลมาในระดับเยาวชน เพราะคิดว่ากูเก๋า กูแน่ วงการลูกหนังขาสั้นไม่มีใครสู้กูได้ แต่พอโตขึ้นมาปรับตัว ปรับทัศนคติได้ ก็สามารถยืนหยัดบนเส้นทางลูกหนังอาชีพได้อย่างยาวนาน
แต่ก็มีอีกหลายคน ที่พฤติกรรมตอนอายุ 16 เป็นยังไง ตอนอายุ 26 ก็เป็นอย่างนั้น อย่าให้ระบุเลยว่ามีใครบ้าง...วันนี้ชีวิตของนักเตะที่เปลี่ยนพฤติกรรมแย่ๆ ของตัวเองไม่ได้ก็ตกต่ำไม่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่ควรจะเป็น ก็เลือกเอาครับ...ว่าจะเป็นแบบไหน..."ชีวิตเป็นของเรา ใช้ซะ!!"